2022ยุคดิจิทัลครองเมือง-ครองโลก สื่อต้องปรับตัวอย่างไร…ให้ปังคู่คุณธรรม

2022 ยุคดิจิทัลครองเมือง-ครองโลก
สื่อต้องปรับตัวอย่างไร..ให้ปังคู่คุณธรรม

โดย…มานิตย์ สนับบุญ

“วันนักข่าว”ตรงกับวันที่ 5 มีนาคมของทุกปี ในยุคที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทต่อสังคมและกลุ่มผู้บริโภคชาวไทยในฐานะ “นักข่าว หรือ สื่อมวลชน”ต้องปรับตัวอย่างสูงเพื่อให้สอดคล้องและเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคตรงเป้าหมาย ส่วนเจ้าของสื่อเองก็ต้องปรับเปลี่ยนองค์กรให้อยู่รอดกับยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ซ แต่สิ่งที่ต้องคงอยู่สื่อมวลชน คือ คุณธรรม-จริยธรรมจรรยาบรรณสื่อ! แต่ปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กทนกับภาระขาดทุนไหม่ต้องปิดกิจการลงเป็นจำนวนมากทำให้นักข่าวภูธร(สตริงเกอร์)ระส่ำหนัก ทำให้ส่วนใหญ่ต้องเลิกอาชีพจับปากกาเขียนข่าวหันไปจับอาชีพอื่นตามที่ตัวเองถนัดแทน

อย่างไรก็ตามก็ยังมีนักข่าวอีกจำนวนมากที่ยังคงรักอาชีพเขียนข่าวเพื่อเผยแพร่ให้สังคมไทยและสังคมโลกได้รับรู้ แม้ว่าจะมีรายรับไม่พอยาไส้ในแต่ละเดือนก็ต้องทน! วันนี้ “นายมานิตย์ สนับบุญ”ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดปราจีนบุรี ได้สัมภาษณ์นานาทรรศนะ ผู้เกี่ยวข้องกับ “นักข่าว”ส่วนภูมิภาคในภาคตะวันออก และ นักวิชาการสื่อสารมวลขน ใน มุมมอง “นักข่าว”เพื่อให้สะท้อนมุมมองในสถานการณ์ “ปัจจุบัน”ว่า สตริงเกอร์ หรือ นักข่าวประจำภูมิภาค นั้นทุกวันนี้ ยังอยู่ดีมีสุขกันดีหรือ? –มีมุมสะท้อน …“ข่าว-นักข่าว”… 5 มีนาคม อย่างไรบ้าง?

ผศ.อมรา พงษ์ปัญญา อดีตหัวหน้าภาควิชาสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า “ มองสื่อมวลชนยุคปัจจุบันนี้ มองว่าสื่อมวลชนนำเสนอข่าวสาร-ภาพ มุ่งสนองกิเลศมนุษย์มากขึ้น ขอพูดในฐานะ ปัจจุบันที่เป็นชาวบ้านหรือประชาชนแล้วเห็นว่า สื่อมวลชนเดี่ยวนี้ใคร ๆ ก็เป็นกันได้ มีสื่อหลากหลายช่องทางนำเสนอผ่านในโซเชี่ยล – โลกออนไลน์ อาทิ ทั้งไลน์,เฟช,เพจ,ติ๊กต็อก,ยูทูป,อินตาแกรม,ทวิตเตอร์ , เว็ปไซต์ พบมุ่งพยายามเสนอเน้นซึ่งกิเลศมนุษย์ แนวประชานิยม อาทิ ข่าว หวย รวย ภาพ – คลิปที่ ว๊อบๆแวม ๆ แต่ ข่าวคุณธรรม หรือเชิงคุณภาพ ที่เขายึดถือก็มี แต่น้อย ส่วนใหญ่เขาเน้นวัตถุมากกว่า ประชาชนเองผู้รับสาร ต้องรู้จักในการเลือกเสพข่าวสาร ว่าจะเอาสื่อ หรือสาร อะไรเข้าตัว ในส่วนตนเองนั้นพยายามเลือกข่าวจรรโลงใจ หรือ มีประโยชน์แก่คุณภาพชีวิต เช่น ธรรมมะ สุขภาพ

                                                                                                                        ผศ.อมรา พงษ์ปัญญา

และ ในช่องทางการรับสารปัจจุบันเลือกรับข่าวสารปัจจุบันเลือกดูจากไลน์ ยูทูป อาทิ อาหาร สุขภาพ ธรรมมะ แต่เมื่อก่อนนี้ดูบันเทิง เที่ยว แต่ในช่วงโควิด -19 ไปไหนไม่ได้ เลือกเสพข่าวสารธรรมมะมาก เพราะอายุมากแล้ว เป็นธรรมมะ ที่ถูกต้องด้วย ไม่ใช่ดูหมอไม่เอา คัดเลือกพระอาจารย์ที่เป็นพุทธแท้ ๆ อาทิ ปฏิจสมุปบาท, ธัมจักรกัปปวัฒนสูตร ฯลฯ ขณะที่สื่อมวลชนผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ปัจจุบัน นั้นไม่ได้อ่านแล้ว เนื่องจากมีปัญหาสายตา ต้องลดลง จะอ่านข่าวสารก็อ่านผ่านทางไลน์ ดูผ่านทางเว็ปไซต์ ยูทูป

ฝากสื่อมวลชนใน “วันนักข่าว” คนที่ทำดีมีคุณธรรม จรรยาบรรณ ก็ทำไป ให้เน้นข่าวเลี้ยงปาก-เลี้ยงท้องบ้าง การสื่อสาร ให้นึกถึงสังคมเพราะเรายังมีลูกมีหลาน” ผศ.อมรา กล่าว

ด้านนายสวาท เกตุงาม อายุ 62 ปี ผู้สื่อข่าวภูมิภาค น.ส.พ.มติชน ประจำจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า ยุคสื่อออนไลน์ นักข่าวมืออาชีพกำลังจะล่มสลาย คงเหลือเพียงนักข่าวสมัครเล่น ในฐานะที่ผมได้ทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวภูมิภาค หนังสือพิมพ์มติชน ประจำจังหวัดสระแก้ว มีประสบการณ์ด้านการนำเสนอข่าวสารทุกด้าน ทั้งทางสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ ทีวีออนไลน์มากว่า 20 ปี ทำให้เข้าใจเกี่ยวบริบทของการเป็นผู้สื่อข่าวภูมิภาค บางคนเรียกนักข่าวภูธร หรือบางคนเรียกนักข่าวบ้านนอกแนวโน้มจะเป็นอย่างไร?

สวาท เกตุแก้ว ผู้สื่อข่าวจังหวัดสระแก้ว

โดยนักข่าวภูมิภาค ในปัจจุบัน มีผู้แบ่งนักข่าวออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ นักข่าวมืออาชีพ กับอาชีพนักข่าว สำหรับนักข่าวมืออาชีพ จะมีสังกัดสำนักข่าวที่ชัดเจน โดยสำนักข่าวมีการออกบัตรประจำตัวให้กับผู้สื่อข่าวภูมิภาค เพื่อแสดงตนว่า เป็นผู้สื่อข่าวที่มีสังกัด และ ให้ความเชื่อมั่นกับประชาชนว่า เป็นผู้สื่อข่าวที่มีคุณภาพ เขียนข่าวตรงไปตรงมา นำเสนอข่าวสารที่ถูกต้อง ไม่เลือกข้าง ไม่รับสินบน ซึ่งผู้สื่อข่าวมืออาชีพ ในปัจจุบันเหลือน้อยเต็มที หรือแทบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว!!

ส่วนอาชีพนักข่าว ในปัจจุบัน มีนับไม่ถ้วน ประกอบกับมีสื่อออนไลน์ ทุกคนสามารถส่งข่าวสารทางสื่อออนไลน์ได้ทันที ดังนั้นทุกคนสามารถนำเสนอข่าวสารผ่านทางออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องมีสังกัดใดๆ เพียงเขียนข้อความสั้นๆ ได้ ส่งข่าวสารทางสมาร์ทโฟนได้ ก็ถือว่าเป็นนักข่าวได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ยังเชื่อถือได้ไม่มากนัก ซึ่งมีทั้งข่าวจริงและข่าวปลอม เพราะขาดการตรวจสอบข้อมูล ผู้เสพข่าวต้องวิเคราะห์พิจารณาเอาเอง

หากพูดถึงจรรยาบรรณ ของนักข่าวในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคสื่อออนไลน์มีบทบาทมากที่สุด คนที่เขียนข่าวหรือนำเสนอข่าวทางสื่อออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค ไลน์ เป็นต้น ส่วนมากจะนำเสนอแบบไม่มีการวิเคราะห์ เขียนข้อความสั้นๆ บางคนก็เขียนไม่ถูกตามหลักภาษาไทย บางคนก็ใช้คำวิบัติ ใช้คำที่รุนแรงไม่สุภาพ หลายคนเขียนข่าวบิดเบือน เขียนข่าวเท็จ เขียนข่าวใส่ร้ายป้ายสีโดยมีทั้งระบุตัวบุคคลและไม่ระบุตัวบุคคล

จักรกฤชณ์ แววคล้ายหงษ์ ผู้สื่อข่าวจังหวัดตราด

นอกจากนี้ยังมีนักข่าวบางคน เขียนข่าวโจมตีใส่ร้ายป้ายสีเพื่อเรียกรับสินบนจากตัวบุคคลหรือจากสถานประกอบการ คนที่ถูกกล่าวหากลัวเสียชื่อเสียงหรือเกิดความรำคาญกับนักข่าว ที่ไม่ใช่นักข่าวอาชีพ หรือนักข่าวสมัครเล่น จึงยอมจ่ายเงินเพื่อให้เรื่องราวเงียบไป ซึ่งนักข่าวในยุคสื่อออนไลน์ ที่มีการเรียกรับสินบนมีจำนวนมาก นักข่าวที่มีลักษณะดังกล่าวถือว่า ขาดจรรยาบรรณโดยสิ้นเชิง

เมื่อการสื่อสารทางออนไลน์มีบทบาทสูงต่อคนไทยและคนทั่วโลกนักข่าวมืออาชีพ เริ่มมีบทบาทลดลง รวมถึงรายได้ของนักข่าวภูมิภาค ก็ลดลงอย่างน่าใจหาย โดยมีรายได้ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำหลายเท่าตัว ดังนั้นเมื่อนักข่าวมืออาชีพออกไปทำข่าวในพื้นที่เพื่อหาข้อมูล นั่นหมายถึง รายได้ติดลบทันที เพราะต้องเติมน้ำมันรถ ไปกลับ 300-500 บาท แต่รายได้จากการทำข่าว ซึ่งเป็นข่าวออนไลน์ จะมีรายได้ คาดว่าไม่เกิน 50 บาท แต่ จะมีนักข่าวภูธรสักกี่คนที่กล้าพูด กล้านำเสนอ เพราะส่วนใหญ่แล้วกลัวเสียศักดิ์ศรี และยังไม่กล้าพอที่จะบอกกับสาธารณชนว่า นักข่าว ไส้แห้ง! มีรายได้ไม่พอยาไส้!!!

อย่างไรก็ดี ผู้สื่อข่าวภูมิภาคยุคสื่อออนไลน์ ต้องปรับตัวให้ได้ โดยในระยะเกิดการระบาดของโควิด-19 ต้องหันไปหาอาชีพอื่น และมีคนหลายคนพยากรณ์ว่า อีกไม่นาน นักข่าวมืออาชีพ จะเหลือเพียงตำนาน” นายสวาทกล่าว

                                                                ธนปกรณ์ วิศวามิตร ผู้สื่อข่าวจังหวัดปราจีนบุรี

ขณะที่นายจักรกฤชณ์ แววคล้ายหงษ์ อายุ 62 ปี เจ้าของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นประชามติตราด และ ผู้สื่อข่าวส่วนภูมิภาค น.ส.พ.มติชน / ทีวี.ช่อง 7 สี ประจำ จ.ตราด กล่าวว่า “เป็นนักข่าวท้องถิ่นนั้นปัจจุบันเริ่มอยู่ยาก เทคโนโลยี่ที่เปลี่ยนไป ทำให้การทำงานของ “นักข่าว”เปลี่ยนแปลง แทนที่จะเป็น “นักข่าวโลว์เทค”ใช้อุปกรณ์กล้องใช้ฟิล์ม ใช้โทรศัพท์บ้านติดต่อ ส่งเอกสารทางแฟค สื่อสารด้วยโฟนลิงค์ หรือแพคลิงค์ สุดท้ายนักข่าวพวกนี้ตายหมด เพราะเทคโนโลยี่แบบอนาล็อค ไม่ทันสมัยแล้ว หากไม่เปลี่ยนแปลงก็ตกยุค หลุดจากความทันสมัย”นายจักรกฤชณ์กล่าวและกล่าวต่อไปว่า “วันนี้ มีเทคโนโลยี่สื่อสารแบบอินเตอร์เน็ต ทำให้วงการสื่อสารต้องปรับใหม่หมด สื่อโบราณอย่าง”หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ,เคเบิลทีวี หรือวิทยุเอฟเอ็ม (วิทยุหลัก และชุมชน) หมดยุค หมดสมัย คนอ่าน คนดู คนฟัง เริ่มลดลงอย่างน่าใจหาย

มีสื่อใหม่ที่มาในรูปออนไลน์ ทั้งเวปไซด์ หรือ แพลตฟอร์มในสังคมโซเชียล ที่มีความหลากหลาย และเข้าตรงเฉพาะกลุ่ม และ มีจำนวนมากมายที่กลุ่มผู้บริโภคข่าวสามารถเลือกตั้งได้ว่าจะเลือกดู เลือกชม เลือกอ่านได้ สาเหตุนี้ นี่ไง? จึงทำให้สื่อเก่าหรือสื่อโบราณ ต้องปรับเปลี่ยน และ “นักข่าว”ก็ต้องปรับเปลี่ยน เจ้าของสื่อก็ต้องปรับเปลี่ยน เปลี่ยนเพื่ออยู่รอด!! เปลี่ยนเพื่อพัฒนาต่อ หรือหยุด!!

5 มีนาคม“วันนักข่าว”ที่สื่อต้องเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนทัศนคติกับงานข่าวใหม่ หากจะก้าวเดินต่อ ยอมรับ และปรับตัว รับรู้สถานการณ์ และ ก้าวเดินไปพร้อมกับความทันสมัย พฤติกรรมผู้บริโภคที่ไม่สนใจสื่อเก่าอีกแล้ว นับจากนี้ ทุกคนมีเพียง “โทรศัพท์มือถือ”เพียงเครื่องเดียวสามารถทำงาน สร้างเงิน สร้างอาชีพได้เพียงเครื่องเดียว

สนทนาพร อินจันทร์ ผู้สื่อข่าวจังหวัดฉะเชิงเทรา

และพร้อมทำงานแข่งกับ”นักข่าวมืออาชีพ”ที่ไม่ต้องใช้ทักษะความรู้ใดๆทางด้านวารสารศาสตร์ ถ่ายภาพเป็น อธิบายได้ก็เพียงพอแล้ว เป็น”นักข่าวท้องถิ่น”เริ่มอยู่ยาก และ หากินลำบากแล้ว เพราะใครๆก็ผลิตข่าว ผลิตภาพได้ และหากทำได้ดีกว่านักข่าวไม่ต้องบอกนะว่า “นักข่าวจะอยู่กันอย่างไร?นายจักรกฤชณ์กล่าวในที่สุด

ด้านนายธนปกรณ์ วิศวามิตร อายุ 70 ปี กล่าวว่า “เข้ามาทำงานเป็นข่าวเข้าสูวงการ “สื่อ” ครั้งแรกตั้งแต่ปี2534 เป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ก่อนเรื่อยมา และ จนปัจจุบันเป็นผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.ปราจีนบุรีช่อง 9 สำนักข่าวไทย อายุงานมากกว่า 30 ปี

ตนเองมองผู้สื่อข่าวส่วนภูมิภาค ในสมัยก่อนกับปัจจุบันต่างกันมาก สมัยก่อนชาวบ้านให้ฉายากับนักข่าวว่า เหมือน หมาเฝ้าบ้าน มีอะไรผิดหูผิดตาเราก็จะเห่า ในการปกป้องผลประโยชน์ให้ความรู้ เตือนภัย ให้ความบันเทิงประชาชน จากเดิมภูมิใจกับคำว่ามาเฝ้าบ้าน แต่ ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไปเยอะ ปัจจุบัน จากหมาเฝ้าบ้าน ต้องออกไป เป็น “หมาล่าเนื้อ ออกไปล่าเหยื่อ- เหยื่อคือ ข่าวสาร” โลกเปลี่ยนไปเยอะ หากอยู่เฉย ๆ แทบไม่ได้ข้อมูล ว่า… ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร ทำไม? … จะอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ข่าว ชาวบ้านไม่รู้ ไม่ได้อะไรเลย ฝากน้องๆนักข่าวที่เข้ามาใหม่ ต้องพยายามหาข่าวสารชัดเจน ข้อมูลต้องเป็นจริงชัดเจนก่อนนำเสนอสู่สายตาชาวบ้านหรือมวลชน

เรื่องรายได้ของนักข่าวภูมิภาคนั้น คำว่านักข่าวไส้แห้ง นั้นเป็นเรื่องจริง –ชัดเจน เพราะสตริงเกอร์ (นักข่าวภูมิภาค)ไม่มีเงินเดือน นักข่าวภูมิภาคทำข่าวส่งไป ข่าวไหนได้รับพิจารณาจาก บก.ออกอากาศจึงจะได้เงินค่าข่าว ข่าวไหนไม่ออกก็ตกไป วิ่งฟรี -ทำฟรี ปัจจุบันโควิด-19 เข้ามา ค่าข่าวลดลง บางสำนักลดค่าข่าวเพื่อความอยู่รอด เป็นข้อเท็จจริงที่เรายอมรับได้

อยากพูดรวม ๆ ให้ นักข่าว เข้ามาทำงานด้วยใจที่รักจริง ไม่ใช่เข้ามาเพื่อแสวงผลประโยชน์จากการทำสื่อหรือเป็นนักข่าว ทุกคนเชื่อถือ “นักข่าว” ต้องรักษาผลประโยชน์กับประชาชน -ให้ความเป็นธรรม -ความถูกต้อง พยายามรักษาในความศรัทธาของประชาชน คำว่า “ฐานันดร4” ให้คงอยู่ ไม่มีอาชีพไหนได้คำนี้ นอกจาก “นักข่าว” อย่ามองผลประโยชน์มากนักในแง่ข่าว “เชิงปริมาณ”(ประชานิยม) ขอให้มอง “ข้อเท็จจริง”คุณภาพข่าว –คุณธรรม” นายธนปกรณ์ กล่าวในที่สุด

ด้าน นายสนทนาพร อินจันทร์ อายุ48ปี ผู้สื่อข่าวเนชั่น/น.ส.พ.มติชน ประจำ จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า “ในฐานะที่ได้ทำอาชีพนี้ มานานกว่า 20 ปีแล้ว ก็อยากจะพูดถึงความเปลี่ยนแปลงไปของคนในวงการสื่อ และสถาบันสื่อหรือสำนักข่าว ที่ผ่านมานั้นจะเห็นได้ว่านักข่าวที่ทำหน้าที่รายงานข่าวด้วยวิชาชีพ หรือทำหน้าที่สื่อแบบมืออาชีพนั้น ได้ลดน้อยหายหน้าไปมากแล้ว เนื่องจากสำนักข่าวในยุคนี้ สมัยนี้ จะเน้นข่าวที่มีความรวดเร็ว ข่าวที่สร้างกระแสในสังคมได้

โดยไปนำข่าวมาจากอาสาสมัครบ้าง โซเชียลบ้าง จากนักไลฟ์สดบ้าง จากยูทูปเบอร์บ้าง ที่ไม่ใช่คนที่เป็นนักข่าวจริงๆ หรือผู้ที่มีประสบการณ์ประกอบวิชาชีพงานข่าวโดยตรง และนำมาเผยแพร่ ซึ่งข้อมูลนั้นก็อาจผิดพลาดไม่ถูกต้อง หรือถูกบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงได้ และอาจเกิดปัญหาในสังคมขึ้นตามมา จากการนำเสนอข่าวด้วยข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลทำให้คนในสังคมสมัยนี้ผิดเพี้ยนไป และไม่รับฟังความเป็นจริง จนอาจเกิดความเสียหายต่อตัวบุคคล และสังคมตามมาได้

ที่ผ่านมาเราจะเห็นได้อยู่เนืองๆ จากการที่ข้อเท็จจริงมีอยู่อย่างหนึ่งก็อาจจะกลายเป็นอีกอย่างหนึ่งได้ เพราะเป็นไปตามข้อมูลที่ได้รับมาอย่างไม่ถูกต้อง อันนี้ก็อยากจะฝากไปถึงยังทางเจ้าของสำนักพิมพ์ หรือเจ้าของสื่อให้คำนึงถึงการทำหน้าที่ของนักข่าวที่แท้จริงด้วยว่าควรจะเป็นอย่างไร โดยผู้ที่ประกอบอาชีพผู้สื่อข่าวด้วยใจรักและเสียสละในภูมิภาค ขณะนี้เหลือน้อยมากแล้ว ส่วนผู้ที่เข้ามาใหม่ๆ นั้นก็อาจจะไม่ได้เรียนรู้หรือสนใจที่จะยึดมั่นในหลักวิชาชีพ เพราะอาจจะมีอย่างอื่นแอบแฝงเข้ามา จนทำให้เราสามารถมองเห็นได้อยู่เป็นระยะมาโดยตลอด

ในวันนักข่าว หรือวันที่ 5 มีนาคม 2565 นี้ จึงอยากจะฝากไปถึงยังเจ้าของสื่อหรือสำนักพิมพ์ว่า ควรจะทำอย่างไรเพื่อให้นักข่าวที่ประกอบอาชีพโดยสุจริตรักในสายทางวิชาชีพนี้อยู่ได้ ส่วนแง่คิดของคนในสังคมนั้น หากเราบริโภคสื่อจากโซเชียลเพียงสั้นๆ หรือเสพข่าวที่ไม่ถูกต้องเพียงด้านเดียว

Related posts