สวธ.ลุยสร้างสรรค์ลายผ้าไทยตอบโจทย์ตลาด ต่อยอดมรดกภูมิปัญญาไทยสู่ความยั่งยืน

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดงานมอบรางวัลให้ผู้ชนะการประกวดออกแบบลายผ้าไทยสู่สากลเพื่อการต่อยอดและพัฒนา (Cultural Textile Awards 2024) มุ่งส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของไทย นักออกแบบลายผ้ารุ่นใหม่ และนิสิตนักศึกษา สร้างสรรค์ลายผ้าไทยเพื่อตอบโจทย์การตลาด และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาไทยสู่ความยั่งยืน


นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ประธานกล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ให้ความสำคัญต่อมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านหัตถกรรม จึงได้ดำเนินงานโครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล กิจกรรมการประกวดออกแบบลายผ้าไทยสู่สากลเพื่อการต่อยอดและพัฒนา (Cultural Textile Awards 2024) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผ้าทอไทยและนักออกแบบลายผ้ารุ่นใหม่ โดยนำแนวคิดจากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ 4 (Thai Textiles Trend Book Autumn/Winter 2023-2024) เป็นหัวข้อในการประกวด เพื่อให้ผู้เข้าประกวดสามารถพัฒนารูปแบบการสร้างสรรค์ลายผ้าไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาผ้าไทยสู่ความยั่งยืน  โดยมุ่งหมายให้สามารถนำองค์ความรู้มาสู่การปฏิบัติได้จริง สร้างรายได้ให้เกิดแก่ชุมชนกลุ่มที่ทอผ้า และผู้ประกอบการด้านผ้าไทย ทั้งยังจุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างงานสร้างอาชีพของนิสิต นักศึกษา ประชาชนที่สนใจต่อไป

รองอธิบดีสวธ. ยังได้กล่าวแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลทั้ง ๒๔ ผลงาน ที่ได้มีส่วนนำทุนทางวัฒนธรรม ผ้าไทยมาต่อยอดสู่สากล สร้างคุณค่าทางจิตใจและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค จนถึงระดับชาติต่อไป และขอขอบคุณคณะกรรมการโครงการฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย และวิทยากรทุกคนที่มีส่วนร่วมทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ให้ได้ผ้าไทยในรูปแบบที่ทันสมัย และยังคงเอกลักษณ์ผ้าทอไทยที่งดงาม

ด้าน ดร.ปรารถนา คงสำราญ หัวหน้าโครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล ประจำปี ๒๕๖๗ เปิดเผยว่า กิจกรรมการประกวดออกแบบลายผ้าไทยฯ ภายใต้โครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล ประจำปี ๒๕๖๗ นี้ จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่สี่ โดยในปีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้จากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ ๔      (Thai Textiles Trend Book Autumn/Winter 2023-2024) ต่อยอดจากองค์ความรู้สู่การปฏิบัติได้จริง ในแนวคิดหลักในปีนี้ ได้แก่ “สุขใสเรืองรอง Luminous Mind” ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นและการออกแบบ ที่ปรึกษาด้านภาพลักษณ์ อาจารย์มหาวิทยาลัย รวมถึงนักออกแบบที่มีชื่อเสียง ร่วมเป็น วิทยากรเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้  และเป็นคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผลงานจากแบบร่าง ทั้ง ๓ ประเภท ได้แก่ ผ้าไหม  ผ้าฝ้าย และสิ่งทอสร้างสรรค์ ที่ส่งเข้าประกวด จำนวน ๘๘ ผลงาน ให้เหลือประเภทละ ๘ ผลงาน รวมทั้งสิ้น ๒๔ ผลงาน โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้ประกาศผลการตัดสิน การประกวดการออกแบบลายผ้าไทยสู่สากลฯ ประจำปี 2567 จำนวน 24 รางวัล เงินรางวัลรวม ๔๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร ประกอบด้วย ๓ ประเภท ดังนี้

1) ประเภทผ้าไหม รางวัลที่ 1 (ชนะเลิศ) ผลงาน ความรุ่งเรืองแห่งสายน้ำจากแม่โขงสู่เจ้าพระยา โดยนายจักรวรรดิวัตร ปรีจำรัส จังหวัดกาฬสินธุ์

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ผลงาน Dimention Stone นายอรรถพล มีพันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ ผลงาน แวววาว นายธีรภัทร์ เพ็งพินิจ จังหวัดปทุมธานี

รางวัลชมเชย 5 รางวัล ได้แก่

                    ความหวังอันดามัน  นายบรรเทา กูลหลัง จังหวัดกระบี่

เส้นทาง  นางสาวนิศาชล พลไชย จังหวัดสกลนคร

Optimistic  นายมัธยม อ่อนจันทร์ กลุ่ม Mathtara จังหวัดขอนแก่น

The rabbit along a rural-to-urban  นางสาวณหทัย เปาอินทร์

จังหวัดกรุงเทพมหานคร

เกศแก้วมณีศรีเวียงตาล นางตุ๊ สุภา จังหวัดอุดรธานี

2) ประเภทผ้าฝ้าย รางวัลที่ 1 (ชนะเลิศ) ผลงาน WAVE of WIND โดยนายไอยรินทร์ รุ่นหนุ่ม กรุงเทพมหานคร

              รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ผลงาน วัยเยาว์  นางสาวนิศาชล พลไชย จังหวัดสกลนคร

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ ผลงาน ประกาย  นายธีรภัทร์ เพ็งพินิจ จังหวัดปทุมธานี

รางวัลชมเชย 5 รางวัล ได้แก่

                     Phenomenon of Fluidness “ปรากฏการณ์ไร้ลักษณ์”  นายศักดิ์สิทธิ์ ภัทรประกฤต นนทบุรี

LAST LIGHT (แสงสุดท้าย)  นางสาวซัมมีย๊ะ ฮะกือลิง จังหวัดนราธิวาส

LAST LIGHT  นางสาวกนกพร  ธรรมวงค์ จังหวัดเชียงราย

แสงตะวันอันดามัน  นายสนธยา ชลธี จังหวัดกระบี่

ไทเท่  นายโชติวงศ์ เฉลิมพงศ์พิพัฒน์ จังหวัดปัตตานี

3) ประเภทสิ่งทอสร้างสรรค์ รางวัลที่ 1 (ชนะเลิศ) ผลงาน The forest of Luminous Mind โดย

นายขวัญโย มาอุ่น และนายเผ่าพันธ์ พงศ์พิพิธธน จังหวัดแพร่

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ผลงาน ศรีวิไลญา นายอรรถพล มีพันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

   รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ ผลงาน SUMMER SOLSTICE นางสาวศศิชา ศรีจันทร์โฉม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

รางวัลชมเชย 5 รางวัล ได้แก่

                     ก่อนอาทิตย์อัสดง  นางสาวทักษพรณ์ สุขศิลป์ จังหวัดสมุทรสาคร

ฮอยประทีป  นายปุณยวีร์ จันทอน จังหวัดนครพนม

อายแสงนีออน นายปรเมธ เจริญวาที จังหวัดสงขลา

The Eternal Horizon  นางสาวดาลิตา เกตุศักดิ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ALPENGLOW นายอาคม พันธ์พลเทพ จังหวัดนครราชสีมา

Related posts