“ศุภมาส” มอบนโยบายสนับสนุน วว. เป็นหน่วยงานวิจัยชั้นแนวหน้า พัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพรองรับสังคมผู้สูงอายุและทางการแพทย์ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ FODMAP อาหารแนวใหม่สำหรับโรคลำไส้แปรปรวน
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 61 ปี การดำเนินงาน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) หน่วยงานวิจัยหลักของประเทศ ในวันที่ 12 มิถุนายน 2567 ณ วว. เทคโนธานี คลองห้า จ.ปทุมธานี โดยได้รับเกียรติจาก นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ผู้ริหารกระทรวง อว. หน่วยงานในสังกัด และเครือข่ายพันธมิตร เข้าร่วมเป็นเกียรติในงาน ภายในงานมีกิจกรรม การมอบนโยบายและตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน การแถลงข่าว “นโยบาย อว. สนับสนุน วว. เพื่อเป็นหน่วยงานวิจัยชั้นแนวหน้าในงานพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุและทางการแพทย์” การเปิดตัวงานวิจัย/บริการและรับรองอาหาร FODMAP …อาหารแนวใหม่สำหรับโรคลำไส้แปรปรวน การมอบประกาศเกียรติคุณ แก่หน่วยงาน/บุคคลภายนอกที่ทำคุณประโยชน์ให้ วว. พิธีลงนามความร่วมมือ Development of Thai ATMP industry for cell therapy into an international medical hub กับเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ บริษัท โรงพยาบาลกล้วยน้ำไทย จำกัด 3 AGEMBIO PTE LTD ,สิงค์โปร และบริษัท วีก้า เวลเนส จำกัด พิธีเปิดอาคาร 60 ปี วว. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์สู่ SMEs ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ผู้ประกอบการเข้าใช้บริการจะได้รับสิทธิประโยชน์มาตรการทางภาษีและมาตรการส่งเสริมการลงทุน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า จากนโยบายที่มุ่งเน้นในด้านการวิจัยและนวัตกรรม คือ“วิจัย-นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ” และ “เน้นประเด็นสำคัญของประเทศ ได้แก่ Go Green พอเพียง ความยั่งยืน (Sustainability) ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) พลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)” โดยมีทั้งมิติที่ทำเพื่อความเป็นเลิศ และมิติเพื่อสร้างความมั่นคงของชีวิตและเศรษฐกิจ ดังนั้นการสนับสนุนให้ วว. เป็นหน่วยงานวิจัยชั้นแนวหน้าในงานพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุและทางการแพทย์ ซึ่งเป็นธุรกิจท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และธุรกิจ Wellness & Longevity ในประเทศไทยที่มีการเติบโตและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการดำเนินการตามภารกิจที่ วว. มีความเชี่ยวชาญและได้สั่งสมประสบการณ์มากกว่า 60 ปี มีผลงานการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ จึงสอดคล้องกับการขับเคลื่อนของ อว. ที่มุ่งเน้นหลักการสำคัญ คือ “เอกชนนำ รัฐสนับสนุน” โดยให้เอกชนผู้ที่จะใช้ประโยชน์เป็นผู้กำหนดทิศทางว่าควรจะทำเรื่องอะไร อย่างไร แล้วสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ ของ อว. จะเข้าไปดำเนินการและสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง ใช้ความต้องการเป็นตัวนำ (market-driven) พร้อมปลดล็อกระเบียบ ข้อจำกัดต่างๆ นอกจากนี้ อว. ยังมุ่งส่งเสริมการสร้างและสนับสนุนผู้ประกอบการนวัตกรรม เพิ่มจำนวนผู้ประกอบการนวัตกรรมทุกระดับ ตั้งแต่ระดับเยาวชน สตาร์ตอัพ SMEs และบริษัทเอกชนขนาดใหญ่
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของธุรกิจสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน เป็นหนึ่งในเป้าหมายการวิจัยและพัฒนาของ วว. โดยมีการทำงานอย่างครบวงจรเพื่อมุ่งเน้นนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบด้วยห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล ผลิตผลิตภัณฑ์ผ่านโครงสร้างพื้นฐานโรงงานต้นแบบที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากการลงทุนภาครัฐ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการในช่วงเริ่มต้นของการทำธุรกิจ ตลอดจนการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญ โดยสาขาความเชี่ยวชาญของ วว. ที่รองรับความต้องการในการวิจัยและพัฒนาและให้บริการสำหรับธุรกิจ Wellness & Longevity และธุรกิจท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ มีดังนี้ ความเชี่ยวชาญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดสมุนไพรและส่วนประกอบอาหารฟังก์ชัน/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Herbal extracts and Functional food ingredients) ความเชี่ยวชาญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (Cosmetics) และเวชสำอางจากสมุนไพร (Herbal Cosmeceutical) ความเชี่ยวชาญการใช้ประโยชน์จากกลุ่มจุลินทรีย์ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารแห่งอนาคต (Future foods) ทั้งโปรตีนทางเลือก (Alternative protein) อาหารฟังก์ชั่น (Functional foods) และอาหาร FODMAP ได้แก่ 1) “ฐานข้อมูล FODMAP ของวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารที่มีในประเทศไทย” ที่ยังไม่มีที่ใดทำและจะพัฒนา Application เพื่อเผยแพร่ให้คนทั่วไป 2) พัฒนาสูตรอาหาร FODMAP เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดของการเป็นอาหาร Low FODMAP 3) โครงสร้างพื้นฐานด้านอาหาร ที่พร้อมให้บริการแก่ผู้ประกอบการ ได้แก่ โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร (FISP) บริการวิจัยพัฒนา วิเคราะห์ทดสอบ ผลิตอาหารแบบ One Stop Service แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งครัวแบ่งปัน (Co-working food space) พื้นที่เปิดบริการสำหรับผู้ประกอบการเพื่อผลิตอาหาร ได้มาตรฐาน ระดับสากล
นอกจากนี้ วว. ยังมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advance Therapy Medicinal Product, ATMP) ชนิดเซลล์บำบัด (Cell Therapy) ซึ่งนำ Stem cell (เซลล์ต้นกำเนิด) หรือองค์ประกอบของเซลล์มาช่วยฟื้นฟูความแข็งแรง กระตุ้นการซ่อมแซมและเติบโตให้แก่เซลล์ในร่างกาย พร้อมทั้งให้บริการวิเคราะห์ทดสอบการแตกหักของดีเอ็นเอ (DNA Damage) ของ Mesenchymal stem cells ด้วย Comet Assay ด้วย โดยภายในงานยังมีพิธีลงนามความร่วมมือ เรื่อง Development of Thai ATMP industry for cell therapy into an international medical hub กับเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ บริษัท โรงพยาบาลกล้วยน้ำไทย จำกัด AGEM BIO PTE LTD,สิงคโปร์ และบริษัท วีก้า เวลเนส จำกัด โดย วว. มีความร่วมมือกับ Department of Biochemistry National University of Singapore (NUS) ร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการรักษาด้วยเซลล์บำบัด
โดยมีความสนใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูงเพื่อรักษามะเร็งซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญของบุคลากรจาก NUS ความร่วมมือดังกล่าวเริ่มจากการร่วมกันดำเนินโครงการการพัฒนาสถานที่และกระบวนการผลิต Allogeneic umbilical cord-derived mesenchymal stem cell ตามมาตรฐาน GMP สำหรับการรักษาด้วยเซลล์บำบัด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และบริษัทวีก้า เวลเนส จำกัด ในปีงบประมาณ 2566 โดยมีคณะผู้วิจัยหลักอยู่ที่ วว. และมีหน่วยงานสนับสนุนอื่นๆ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มีเป้าหมาย คือ การพัฒนาสถานที่ผลิต ระบบการผลิตสเต็มเซลล์ ระบบควบคุมคุณภาพ ระบบควบคุมความเสี่ยง ให้เป็นไปตามมาตรฐาน PIC/S GMP ทดสอบฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์ต้นแบบในระดับสัตว์ทดลอง ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต้นแบบในระดับหลอดทดลองที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเพื่อให้ได้มาซึ่ง allogeneic stem cells สำหรับใช้ในการบำบัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุดเพื่อเตรียมพร้อมสู่การนำไปใช้ยืนยันความปลอดภัยในเชิงคลินิกในอาสาสมัคร (phase I/II clinical trials) ในโครงการระยะถัดไป ตามแผนการดำเนินงานคาดว่าจะสามารถขึ้นทะเบียนสถานที่ผลิต Allogeneic stem cell ซึ่งจัดเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เสริมความพร้อมในการขยายผลทางคลินิกสู่การแพทย์ในเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2568
นอกจากนี้ ยังได้เปิดอาคารศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์สู่ SMEs (อาคาร 60 ปี วว.) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เป็นเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามมติการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ รองรับการลงทุนด้านการวิจัยพัฒนา และการเชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาคการวิจัย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ เช่น การผลิตชิ้นส่วนระบบราง การผลิตชิ้นส่วนรถไฟฟ้าหรือยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมและบริการเพื่อสุขภาพ อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต อุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่ อุตสาหกรรมชีวภาพ รวมถึงอุตสาหกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการเข้ามาใช้บริการหรือถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก วว. จะได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ขึ้นอยู่กับประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริม โดยอาคารฯ ดังกล่าวรองรับการดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยี และผลงานวิจัยให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในการนำองค์ความรู้ต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการผลิตและเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจ และเพื่อใช้เป็นอาคารศูนย์กลางเพื่อรองรับการพัฒนากลไกหรือบริการด้านอื่นๆในการสนับสนุนผู้ประกอบการอย่างครบวงจร เช่น กิจกรรมบ่มเพาะผู้ประกอบการ , กิจกรรมยี่ยมชมโชว์ศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของ วว. สู่การเสริมแกร่งผู้ประกอบการ สร้างความพร้อมด้านธุรกิจ และผลักดันผู้ประกอบการไทยสู่มาตรฐานสากล
วว. พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของทุกภาคส่วนของสังคม เป็น “Partner for your success” พร้อมเป็นที่ปรึกษาและให้บริการวิจัยพัฒนา บริการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ โทร. 0 2577 9000 E-mail : [email protected] หรือที่ “วว. JUMP”