ปชช.ยังเชื่อว่า’ความขัดแย้งทางเมืองยังมีอยู่คู่สังคม’แม้จะมีรัฐบาลพิเศษและ’ทักษิณ’กลับไทย

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ความขัดแย้งทางการเมือง สลายหรือยัง?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23-25 สิงหาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มต่าง ๆ ของประชาชน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 87.63 ระบุว่า ไม่เคย ไปร่วมชุมนุมใด ๆ กับกลุ่มทางการเมืองเหล่านี้ รองลงมา ร้อยละ 4.35 ระบุว่า เคยร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. – กลุ่มเสื้อแดง) ร้อยละ 3.13 ระบุว่า เคยร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม. – กลุ่มเสื้อเหลือง) ร้อยละ 3.05 ระบุว่า เคยร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และร้อยละ 2.82 ระบุว่า เคยร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มสามนิ้ว (กลุ่มเสื้อส้ม)

ด้านกลุ่มทางการเมืองที่ประชาชนมองว่าตนเองอยู่ในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 69.47 ระบุว่า ไม่อยู่ในกลุ่มทางการเมืองใด ๆ รองลงมา ร้อยละ 19.85 ระบุว่า กลุ่มสามนิ้ว (กลุ่มเสื้อส้ม) ร้อยละ 6.64 ระบุว่า กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. – กลุ่มเสื้อแดง) ร้อยละ 2.59 ระบุว่า กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม. – กลุ่มเสื้อเหลือง) และร้อยละ 1.45 ระบุว่า กลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)

ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดตั้งรัฐบาลพิเศษ “สลายขั้ว” ของพรรคเพื่อไทย โดยมีคุณเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี จะทำให้มีการสลายความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มเสื้อเหลือง เสื้อแดง กปปส. พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.72 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 20.61 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 20.53 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 19.85 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 2.29 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการกลับประเทศไทยของคุณทักษิณ ชินวัตร เพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจะทำให้มีการ สลายความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มเสื้อเหลือง เสื้อแดง กปปส. พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.76 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 27.02 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 22.29 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 18.25 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.68 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทางการเมืองในอนาคต พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.39 ระบุว่า กลุ่มเสื้อส้ม กับ ทุกกลุ่ม (เสื้อเหลือง เสื้อแดง กปปส.) รองลงมา ร้อยละ 24.89 ระบุว่า ไม่มีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มอีกต่อไป ร้อยละ 16.56 ระบุว่า กลุ่มเสื้อแดง กับ กลุ่มเสื้อส้ม ร้อยละ 6.72 ระบุว่า กลุ่มเสื้อเหลือง กับ กลุ่มเสื้อแดง ร้อยละ 2.44 ระบุว่า กลุ่มเสื้อแดง กับ กลุ่ม กปปส. ร้อยละ 2.29 ระบุว่า กลุ่มเสื้อเหลือง กับ กลุ่มเสื้อส้ม ร้อยละ 1.45 ระบุว่า กลุ่ม กปปส. กับ กลุ่มเสื้อส้ม ร้อยละ 0.53 ระบุว่า กลุ่มเสื้อเหลือง กับ กลุ่ม กปปส. และร้อยละ 10.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.57 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.13 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.30 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 33.51 สถานภาพโสด ร้อยละ 65.19 สมรส และร้อยละ 1.30 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 24.81 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.29 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.55 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.01 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 6.34 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.85 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.33 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.83 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.37 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.35 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.77 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.50 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 22.60 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 17.86 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.33 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.30 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 6.87 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.50 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.54 ไม่ระบุรายได้

Related posts