จากสถานการณ์ ที่พบการระบาดของเพี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงนาข้าว ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเสิงสางจังหวัดนครราชสีมา ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมาและศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดนครราชสีมา ลงพื้นที่บ้านโนนสำราญหมู่ 3 ตำบลโนนสมบูรณ์อำเภอเสิงสางจังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้ความรู้ในการกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและให้ความรู้ในการดูแลต้นข้าวเพื่อป้องกันไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเข้ามาระบาดจนทำให้ต้นข้าวที่กำลังแตกกอเสียหาย พร้อมกับติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่ระบาดในแปลงนาข้าวของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเสิงสาง
นายดนัย ตรวจงูเหลือมหัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมาบอกว่าแนวทางการแก้ไขของเกษตรจังหวัดนครราชสีมา จากการสำรวจในเบื้องต้นในการลงพื้นที่นั้น พบมีการระบาดอย่างรุนแรง ในพื้นที่ของเกษตรกร ประมาณ5 ไร่ที่ได้แจ้งเข้ามา จึงได้มีการแนะนำให้เกษตรกรนั้นใช้สารเคมีในการกำจัดเพลี้ยกระโดด เพราะมีการระบาดหนัก แต่ห้ามใช้สารเคมีที่ใช้กำจัดหนอนในแปลงข้าวโพดฉีดในนาข้าว เพราะจะทำให้ ศัตรูทางธรรมชาติของเพลี้ยกระโดดนั้นถูกทำลายไปด้วย ส่วนในแปลงข้างเคียงที่ยังไม่ได้รับ ผลกระทบนั้นให้ใช้สารชีวภัณฑ์ประเภทบิวเรียร์ในการฉีด ป้องกันเอาไว้ก่อน โดยวันนี้ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมาได้นำร่อง ในการใช้ สารชีวภัณฑ์บิวเวอร์เรีย ลงพื้นที่ฉีดให้กับเกษตรกร ในพื้นที่แปลงที่ได้รับผลกระทบและพื้นที่ใกล้เคียง ของเกษตรกรบ้านโนนสำราญ หมู่ที่ 3 ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และได้แจกจ่ายหัวเชื้อบิวเรียให้กับเกษตรกร เผื่อไว้ใช้ฉีดป้องกัน ตัวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล อีกด้วย
นางจารุณี อินทุภูติ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดนครราชสีมาได้ลงพื้นที่พร้อมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา และสำนักงานเกษตรอำเภอเสิงสาง เพื่อให้คำแนะนำ ของการใช้สารเคมี สารชีวภัณฑ์ และการจัดการศัตรูทางธรรมชาติของตัวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ให้กับเกษตรกร โดยแนะนำเกษตรกรว่าในแปลงไหนที่ต้องการฉีดสารเคมีหรือสารชีวภัณฑ์นั้นให้เกษตรกร ปล่อยน้ำออกจากภายในแปลงนาข้าวให้หมดก่อนจึงค่อยดำเนินการฉีดสาร ชีวภัณฑ์ หรือสารเคมี ในแปลงนาข้าว และจากการสำรวจการระบาดนั้น อยู่ในระดับ 2 คือ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เริ่มออกตัวอ่อนแล้ว สถานการณ์ตอนนี้ จากการลงสำรวจของเจ้าหน้าที่พบว่า ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมได้ เพราะในพื้นที่มีศัตรูทางธรรมชาติของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นจำนวนมาก และหากเกษตรกรได้รับคำแนะนำการใช้สารชีวภัณฑ์และสารเคมีอย่างถูกต้อง ซึ่ง เกษตรกร สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตร ในแต่ละพื้นที่ ที่เกษตรกรอยู่ใกล้เคียงได้.
โดย…ประสิทธิ์ ตั้งประเสริฐ//นครราชสีมา