“ลุงเดือน”เกษตรกรคิดดี ทำดีแห่ง อ.วังจันทร์ ใจสู้มุ่งมั่นทำเกษตรปลูกผักปลอดสารพิษ

ชีวิตไม่ได้ออกแบบไว้สวยหรู แต่ คุณลุงเดือน จันอินทร์ เกษตรกรอาวุโส ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ต่อสู้ชีวิตไม่เคยท้อถอย เดินตามรอยบรรพบุรุษที่ยึดอาชีพทำไร่ แต่ลุงเดือนมีความขยันทำไร่ทำสวนมายาวนาน จนกลายเป็นวิชานอกห้องเรียนที่ได้ต่อสู้ผ่าฟันอุปสรรคมาได้ต่างๆนานา จนสามารถลืมตา อ้าปาก ด้วยการยึดอาชีพเกษตรกรหล่อเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้

คุรณลุงเดือน เล่าว่า ช่วงแรกๆเริ่มทำสวนยางพารามานานกว่า 20 ปี ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง ควบคู่ไปกับการทำสวนผักเล็กๆน้อยๆ เพื่อมารับประทานภายในครอบครัว ไม่ต้องซื้อในตลาดให้ฟุ่มเฟือย ผักที่ปลูกมาไม่อยากขาย แค่พอกิน พอใช้ อย่างน้อยได้สัมผัสด้วยตัวเอง ในเรื่องการปลูกผักแบบไร้สารพิษ ไม่มีการฉีดยา หรือใช้สารเคมีฆ่าแมลง  เพื่อให้มีคุณประโยชน์ในการรับประทานผัก โดยไม่ต้องกังวลเรื่องนำสารพิษเข้าสู่ร่างกาย

จนช่วงปีหลังๆเริ่มหันมาปลูกผักแบบจริงๆจังๆ พอมีรายได้จากการขายผักเลี้ยงครอบครัว

ย้อนไปเมื่อ15 ปีก่อน เริ่มปลูกผักสวนครัวอาทิ กะหล่ำปลี ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ต้นหอม ผักชี ผักขึ้นฉ่าย  บวก ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว รวมทั้งผักลอยน้ำ และผักอื่นๆอีกมามาย ได้ทำการเพาะปลูกหมุนเวียนตามฤดูกาล  ซึ่งได้ความรู้การทำเกษตรแบบชาวบ้านที่บอกต่อสืบทอดกันมา

ทางหน่วยภาครัฐเห็นความตั้งใจได้ยื่นมือเข้ามาสนับสนุน โดยหน่วยงานเกษตรอำเภอมาแนะนำความรู้เรื่องการทำเกษตร มอบเมล็ดพันธุ์ ,กรมพัฒนาที่ดิน ส่งเสริมการปรับปรุงดิน เพื่อใช้ในการทำเกษตรได้ถูกวิธี ซึ่งแต่ละหน่วยมาช่วยดูแล สอบถามปัญหาต่างๆ ซึ่งแต่หน่วยงานยื่นมือมาสนับสนุน เนื่องจากเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจการทำเกษตร จนบางช่วงให้มีคนดูงาน

รวมทั้ง กรมพัฒนาชุมชน แนะนำทำโครงการโคก หนอง นา ตามรูปแบบผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่กับพื้นที่การเกษตร ลุงเดือนใช้พื้นที่ 1ไร่ ดำเนินการไปแล้ว 3 ปี ซึ่งได้ทำการขุดสระ ปลูกพืช ตามรูปแบบโครงการที่หน่วยงานรัฐระบุไว้

อย่างไรก็ตาม การทำสวนผักเริ่มเห็นผล สามารถปลูกผักกับลูกๆ ส่งไปขายในตลาดชุมแสง อำเภอวังจันทร์ได้  พอมีรายได้เสริม นำเงินทุนหมุนเวียนค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ระดับหนึ่ง แต่เกษตรกรยังมีหนี้สิน  จากนั้นได้มีการรวมกลุ่มกันของชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงร่วม “โครงการวังจันทร์ รวมรัก ปลูกผัก แบ่งปั่น” สมาชิกนำผักสดมาวางขายกันในพื้นที่ปั้มปตท. ในย่านตำบลป่ายุบใน โดยแต่ละปีมีการแบ่งปั่นผลจากผลกำไร ตามสัดส่วนหุ้นที่ลงทุนไป

ต่อจากกนั้น หลังจากได้ส่งไปขายตามปั้มน้ำมันแล้ว  เริ่มหันมาลองเปิดร้านค้าขายผักชุมชนเล็กๆหน้าสวนผักบนที่ดินพื้นที่ตนเอง โดยผักนำมาขายให้ลูกค้า ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง สามารถสร้างรายได้ค่อนข้างดี หลังเปิดขายมา2ปี บางปีเศรษฐกิจดีๆจะขายดี ทั้งนี้ เนื่องจากว่าผักนำออกมาขายให้กับชาวบ้านเป็นผักปลอดภัย ไม่มีสารพิษ ซึ่งเป็นที่ต้องการของคนรุ่นใหม่

เพราะว่ากลุ่มชาวบ้านที่ทำการปลูกผัก ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการนำภูมิปัญญาชาวบ้านแบบโบราณ ที่สืบทอดกันมายาวนานใช้แทนยาฆ่าแมลง อาทิ เหล้าขาว ยาฉุนผสมกับหัวข่าทุบแช่น้ำ สามารถนำมาฆ่าเพลี๊ยอ่อนได้ ที่เป็นตัวทำลายถั่วฟักยาว เพราะฉะนั้น กลุ่มลูกค้ามาซื้อผักค่อนข้างรู้ดี ร้านไหนใช้ยาฆ่าแมลงบ้าง จะหลีกเลี่ยง

“ความตั้งใจของลุงอยากให้ผู้ซื้อผักทานไปแล้ว ปลอดภัย ไม่มีโทษ ผลข้างเคียงต่อผู้บริโภค ซึ่งลุงอายุ70 ปีแล้ว ไม่เคยป่วยหนัก เพราะว่าส่วนหนึ่งทานผักที่ปลูกกินเอง จึงอยากแนะนำ แบ่งปั่นสิ่งที่ดีให้กับสังคม เพราะว่าสมัยนี้ คนกินผักที่มีสารพิษปะปนจากผักกันเยอะ ทำให้ล้มป่วยจำนวนมาก” คุณลุงเดือนกล่าวและว่า

สำหรับการลงทุนทำสวนผักสมัยนี้ เกษตรกรไม่ได้ร่ำรวย ไม่ได้มีเงินมากมายจากขายผักมากนัก แต่พอมีรายได้ในระดับหนึ่ง เพื่อนำเงินลงทุนเหล่านี้มาหมุนเวียนทำการเกษตร บางช่วงหน่วยงานภาครัฐคอยสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผักบ้าง   ส่วนการใช้แรงงานทำสวนผักนั้น ได้ลูกๆมาช่วย เพราะเด็กรุ่นใหม่ยุคนี้หันไปทำงานบริษัทเอกชนกัน

เพราะมีรายได้มั่นคงดีกว่ามาปลูกผัก แต่โดยส่วนตัวอยากสนับสนุนลูกๆหลานๆ พอมีเวลาว่างหันมาปลูกผัก เพื่อไว้ทานกันในครัวเรือน เพราะว่าชีวิตตั้งแต่เด็กโตมาได้จากอาชีพเกษตรกร

นอกจากนี้ ทาง คุณลุงเดือน เป็นหนึ่งในสมาชิก บ. ทรัพย์ยั่งยืน เอ็นเตอร์ไพร์ส 59 จำกัด (มหาชน) รุ่นแรกๆ หลังจากที่ได้มาร่วมครอบครัว sy คุณลุงเดือน บอกว่า สามารถนำความรู้มาถ่ายทอดต่อชุมชน ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพราะว่าตนทำงานเพื่อสังคมในชุมชนมามากมาย เห็นปัญหาในท้องถิ่น โดยเฉพาะเรื่องความยากจน เกษตรกรมีหนี้สินมากมาย ทำอย่างไรให้พวกเขาเหล่านี้ สามารถสร้างรายได้ด้วยตนเอง และสามารถช่วยกันลดหนี้ได้ บางคนแค่ทำงานรับจ้าง ยังติดหนี้ท่วมหัว  ไม่มีที่อยู่อาศัย เพราะทำงานหาเงินใช้หนี้หมด

แต่สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้กับค่าย sy บริษัทมีความมุ่งมั่นที่สนับสนุนเกษตรสร้างงาน สร้างอาชีพรวมถึงมีแนวทางใหม่ๆให้กับเกษตรกร ทั้งเรื่องการปลูกข้าว การทำเกษตรอินทรีย์ การหาช่องทางตลาดให้

อีกทั้ง ผู้บริหารได้มีการหารือร่วมกับสมาชิก  เสนอแนวคิดเรื่องช่องทางทำมาหากินกัน เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

Related posts