พ่อเมือภูเก็ตรับพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงเพื่อมอบให้แก่ท้องถิ่น

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 เวลา 08.00 น.นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีรับพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ฉายพระรูปกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เพื่อมอบให้แก่ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อนำพระราชทานแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับขั้นพื้นฐาน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจังหวัดภูเก็ต ได้มอบพระบรมฉายาลักษณ์ ให้แก่หน่วยงานต่างๆ กว่า 200 แห่ง เพื่อเชิญไปประดิษฐานให้ประชาชนได้เคารพสักการะ เป็นเครื่องเตือนใจ ถึงพระมหากรุณาที่คุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ต่อไป

เวลา 08.30 น. ผู้ว่าฯโสภณ สุวรรณรัตน์ เป็นประธานนำคณะผู้บริหารจังหวัดฯ หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ารับแผ่นธรรมนาวา “วัง” เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ห้องประชุมประดู่แดงโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต เพื่อนำไปแจกจ่ายต่อให้กับพี่น้องประชาชนในวันวิสาขบูชา ประจำปี 2567 ที่จะถึงนี้ โดยหลังจากนี้ จังหวัดภูเก็ต จะนำไปแจกจ่ายให้ต่อกับวัด สถานศึกษา เรือนจำ สถานพินิจ และประชาชน ครอบคลุมทั้ง 3 อำเภอ เพื่อน้อมนำเป็น “หลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์” ฉบับธรรมนาวา “วัง” เป็นภาพวาดฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมคติธรรม ซึ่งประกอบด้วยหลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ แบบวิธีระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และหลักอริยสัจ 4 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานให้นำไปเผยแพร่ขยายผลทุกช่องทาง และนำไปบรรจุไว้ในการแสดงพระธรรมเทศนาของพระสงฆ์ทุกวัดทั่วประเทศ ตลอดปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนอย่างทั่วถึง อันจะนำไปสู่ประโยชน์สุขที่พึงจะได้รับจากพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงผ่านหลักการปฏิบัติอย่างถูกต้องตรงตามพุทธบัญญัติ

เวลา 09.00 น. ผู้ว่าฯโสภณ สุวรรณรัตน์ เป็นประธานนำหัวหน้าส่วนราชการข้าราชการเข้าร่วมพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี 2565 และประจำปี 2566 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2565 และวันที่28 กรกฎาคม 2566 ให้แก่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ซึ่งจังหวัดภูเก็ตมีอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ จำนวน 2 รายได้แก่ นายสุทัศน์ เลพัด อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนสังกัดศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเทศบาลตำบลราไวย์ และนายสนิท รายาสกุล อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนสังกัดศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนองค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรี

เวลา 10.30 น. ผู้ว่าฯโสภณ สุวรรณรัตน์ พร้อมด้วยนายนรศักดิ์ สุขสมบูรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐ เอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ตครั้งที่ 4/2567 ณ ห้องประชุมเจ้าฟ้าชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต โดยการประชุมได้มีการนำเสนอข้อมูลตามที่กำหนดไว้โดยรัฐมนตรีว่าการที่กำหนดใดพิจารณาให้ความเห็นชอบการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจะงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2561 ไปพร้อมก่อนจำนวน 60,810,000 บาทซึ่งเป็นไปตามคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 และประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานโครงการก่อสร้างโครงการตักขยะในพื้นที่สวนป่าบางขนุน โอกาสนี้คณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชนได้ร่วมพิจารณาที่หอการค้าจังหวัดภูเก็ตดำเนินการเสนอจำนวน 5 เรื่องประกอบด้วยโครงการศึกษาประสิทธิภาพความปลอดภัยสาธารณะด้วยอากาศยานไร้คนขับ(โดรน) อัจฉริยะ/แนวทางการแก้ปัญหาแหล่งท่องเที่ยวบริเวณป่าตองและการควบคุมการเสพและจำหน่ายกระท่อมกัญชาซึ่งขณะนี้ฝ่ายปกครองได้ดำเนินการตรวจจับกลุ่มผู้ลักลอบจำหน่ายกระท่อมอย่างต่อเนื่องและดำเนินการเชิงรุก /ในส่วนประเด็นชาวต่างชาติไม่เคารพกฎหมายแย่งอาชีพสงวนคนไทยที่ประชุมได้มอบหมายให้หน่อยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการทำงานเพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบเนื่องจากแต่ละหน่วยงานมีรายละเอียดกฎหมายคนละฉบับซึ่งจะต้องนำมาบูรณาการใช้ในการดำเนินการแก้ปัญหาร่วมกัน /ส่วนของการแก้ปัญหาภัยแล้งและขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคในระยะสั้นกลางและยาวในส่วนของการดำเนินงานได้มอบหมายให้การประปาส่วนภูมิภาคสาขาภูเก็ตและโครงการชลประทานภูเก็ตจัดทำแผนเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งเรื่องของการเพิ่มพื้นที่แหล่งน้ำดิบ


เวลา 14.00 น. ผู้ว่าฯโสภณ สุวรรณรัตน์ เป็นประธานการประชุมการเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น ธงตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมเจ้าฟ้า ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ตเพื่อเชิญชวนพี่น้องประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมเดินวิ่ง ปั่น ธงตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ซึ่งกิจกรรมเดินวิ่ง ปั่น ฯ จะจัดขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2567 สามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ของแต่ละจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศต่อไป

เวลา 15.00 น. ผู้ว่าฯโสภณ สุวรรณรัตน์ พร้อมด้วยนายนรศักดิ์ สุขสมบูรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ(28 กรกฎาคม 2567) ของจังหวัดภูเก็ต ณ ห้องประชุมเจ้าฟ้าชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต โดยมีคณะทำงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยจังหวัดภูเก็ต จะดำเนินการจัดพิธีพลีกรรมตักน้ำ ณ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เพื่อจัดทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ (28 กรกฎาคม 2567) โดย มีกำหนดฤกษ์สำหรับพิธีพลีกรรมตักน้ำ ณ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ฤกษ์เวลา 14.49 น. จัดพิธีเสกทำน้ำพระพุทธมนต์ฯ ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2567 และจัดพิธีเวียนเทียนสมโภชน้ำพระพุทธมนต์ ในวันที่ 8 กรกฎาคม ฤกษ์เวลา 12.00 น.

เวลา 18.00 น. ผู้ว่าฯโสภณ สุวรรณรัตน์ ร่วมกับคุณอัญชลี วานิช เทพบุตร ประธานที่ปรึกษาสมาคมเพอรานากันประเทศไทย นายเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และคุณบุญเพิ่ม อินทนปสาธน์ นายกสมาคมการค้าส่งเสริมการจัดงานมหกรรมและเทศกาลนานาชาติไทย แถลงข่าวการจัดงานเทศกาล Phuket Peranakan Festival 2024 ณ ห้องคอซิมบี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งจะพบกับ 20 ขบวนแห่ยิ่งใหญ่ระดับรางวัล Asia Pinnacle Awards พร้อมปั้นสู่เวทีโลก ด้วยชุดการแสดงจากหลากหลายเมืองแห่งเพอรานากันทั้งไทย และคาบสมุทรมลายู และพร้อมประกาศตัวเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งเทศกาลเพอรานากันอย่างเป็นทางการโดยมีผู้เข้าร่วมขบวนการแสดงในปีนี้กว่า 1,400 คน พื้นที่ชมสำหรับนักท่องเที่ยวกว่า 15,000 คน คาดรายได้สะพัดมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท โดยไฮไลท์ปีนี้คือ ขบวบรำมหาชนเพอรานากัน ในรูปแบบ Flash Mob Culture บริเวณสุดยอดสถานที่ไฮไลท์ของเมืองเก่าภูเก็ต ถ.พังงา กลางสี่แยกธนาคารชาร์เตอร์ และขบวนแห่หลากหลายวัฒนธรรม จากอีก 10 เมืองเพอรานากันในคาบสมุทรมลายู แนวคิดปีนี้เป็นเรื่อง ความอุดมสมบูรณ์ (ABUNDANT) ของวิถีความเป็นอยู่ของชาวเพอรานากัน ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายของมรดกทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในเรื่อง City of Well-Being เพื่อเป็นการสร้างยุทธศาสตร์แห่งความยั่งยืนทางด้านศิลปะวัฒนธรรมของ ภูเก็ตเพอรานากัน โดยใช้ “เสี่ยหนา” ปิ่นโตกับข้าวประเพณีของชาวภูเก็ต และ “อ่องหลาย” สัปปะรด ผลไม้ไหว้เจ้ามงคล และยังเป็นหนึ่งในผลไม้ชุมชนเชิงเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยมีการนำเสนอผ่านขบวนแห่ที่สร้างกิจกรรมแบบ 2 ways hands on ให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมงาน

Related posts