“ร้อยเอ็ด”เป็นเมืองศิลปะวัฒนธรรมที่ชาวบ้านร่วมกันอนุรักษ์ “ผ้ายก” ที่กลายเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพพบุรุษได้รวบรวม “ผ้ายกลายดอกโบราณ” มาจากบรมครูผู้เป็นต้นแบบการท้อผ้ามาตั้งแต่โบราณกาล จาก “คุณยายพยอม” ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ศิลปะการทอผ้า) จากนั้นฝากมรดกทรงคุณค่าเรื่องการทอผ้า ถ่ายทอดมายังชนรุ่นหลัง “คุณยายสุมิตรา ทองเภ้า” หรือที่หลายคนเรียกว่า “ยายดำ” ครูศิลปินของแผ่นดิน ปี 2567 ประเภทสิ่งทอ (ผ้ายกร้อยเอ็ด)
พร้อมเล่าถึงที่มา ที่ไปผ้ายกร้อยเอ็ดว่า ตนเป็นลูกศิษย์คุณยายพยอม ที่ได้เรียนรู้เรื่องการออกแบบ ลวดลายผ้า รวมถึงการย้อมสีผ้าแบบธรรมชาติ โดยใช้บ้านเป็นสถานที่ทอผ้า ตั้งอยู่ในใจกลางเมืองร้อยเอ็ดเป็นแหล่งผลิตผ้า โดยใช้เครื่องมือทอผ้าแบบโบราณ “กี่ทอผ้า” นิยมใช้ในภาคอีสานทำกันในย่านชุมชน ซึ่งเริ่มทอผ้ากันมาตั้งแต่อายุ 20 กว่าปี จนเกิดความเชี่ยวชาญ
ยุคนั้นการทอผ้า ส่วนใหญ่จะทอให้กับคหบดี คนดังในเมือง เพื่อสวมใส่ในงานพิธีและเทศกาลสำคัญๆ อีกส่วนหนึ่งส่งไปให้ตามวัดวาอารามต่างๆ ซึ่งผู้หลัก ผู้ใหญ่ในท้องถิ่นจะนิยมเอาไปสวมใส่กัน โดยทักษะการทอผ้าในยุคนั้น จะต้องออกแบบลวดลายโบราณ อย่างผ้ายกลวดลายเทพพนมยกมือ ซึ่งเป็นลายที่ทอยากมาก ต้องมีความมุ่งมั่น และมีความขยันอดทนสูงกว่าจะได้ “ผ้ายก”มาได้สักหนึ่งผืน โดยผ่านขั้นตอนต่างๆตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายนั้น บางผืนใช้เวลาทอนานพอสมค
อย่างลายกรวยเชิงหรือที่บางคนเรียกว่า “ลายกรุยเชิง” ซึ่งเป็นลายต่อกันลักษณะเป็นแถว ลายจะถูกบรรจุอยู่ในทรงสี่เหลี่ยม มีการเขียนเค้าโครงเป็นรูปกนก เหมือนกับรูปทรงของดอกบัว หรือพุ่มทรงข้าวบิณฑ์วง ต่อเนื่องกันไปตามแนวนอน
ซึ่งลวดลายเหล่านี้ ล้วนแต่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ คุณยายนำองค์ความรู้เหล่านี้มาถ่ายทอดต่อรุ่นลูก รุ่นหลานได้เรียนรู้กัน ซึ่งปัจจุบันได้รับการสนับสนุนหน่วยงานรัฐมาช่วยสนับสนุนในเรื่องการทำตลาดให้ เพราะว่าชาวบ้านทั่วไปนั้น เก่งเรื่องการทอ และการตลาดยุคใหม่ไม่เชี่ยวชาญ ทั้งที่ ผ้ายกร้อยเอ็ดนั้น เป็นชิ้นงานที่มีมูลค่าสูง เนื่องจากว่าเป็นงานฝีมือชาวบ้านที่กลายเป็นสินค้าขึ้นชื่อแห่งเมืองร้อยเอ็ด ผ้ายกบางผืนต้องใช้เวลาทอ 3-4 เดือน อย่างลวดลายเทพพนมใช้เวลานาน 5เดือน
ยิ่งยุคนนี้ คนรุ่นใหม่เริ่มน้อยลง ไม่ค่อยหันมาสนใจนิยมทอผ้าแบบโบราณกัน เนื่องจากกระบวนการทอต้องใช้เวลาและมีความละเอียด ต้องอดทน ขยันเอาใจใส่ทุกขั้นตอน กว่าที่จะมาเป็น “ผ้ายก” อัญมณีผ้าไทยที่ทรงคุณค่า แห่งเมืองร้อยเอ็ด ที่ชนรุ่นหลังต้องร่วมกันอนุรักษ์ไว้