ของดีเมืองไทย “เครื่องเบญจรงค์ ดอนไก่ดี” สืบทอดทายาทขาย “งานศิลป์” ทั่วโลก

อีกหนึ่งผลงานที่ทรงคุณค่าของเมืองไทย ที่ชาวต่างชาติและนักท่องเที่ยว ต่างประทับใจในฝีมือการวาดลวดลาย ลงน้ำทอง การใช้สีที่บ่งบอกเอกลักษณ์ “ความเป็นไทย”ได้อย่างลงตัว ที่ได้สืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน ไม่ได้ห่างหายไป  ชาวบ้านในท้องถิ่นร่วมอนุรักษ์ “เครื่องเบญจรงค์” ไว้อยู่คู่แผ่นดินไทย

ถ้าหากได้เดินทางไปท่องเที่ยว หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี หนึ่งในหมู่บ้านโอทอป ซึ่งชาวบ้านมีการร่วมกลุ่มทำ “เครื่องเบญจรงค์คุณภาพ” ซึ่งกลุ่มนี้ได้รับการอนุรักษ์กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จนกลายเป็นตระกูลเก่าแก่ที่ทำกันมายาวนาน ปัจจุบันหลายๆกลุ่มที่แตกแขนงกันออกไปทำงานศิลปหัถตกรรมชิ้นนี้

“ณัฏธ์ณรัณกร แตงเอี่ยม” ทายาทช่างศิลปหัตกรรม ปี 2558 หนึ่งตระกูลเก่าแก่ที่สืบทอดกันมายาวนานกล่าวว่า ตนเป็นทายาทของคุณแม่อุไร ที่เคยได้รับรางวัลเมื่อปี 2555 เคยเป็นประธานกลุ่มฯ ทำเครื่องเบญจรงค์ เครื่องลายคามมายาวนาน โดยนำแนวคิดลวดลายสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 จนกลายเป็นตำนานแห่งความเก่าแก่

โดยกลุ่มมีสมาชิกร่วม 100 คน บางคนมีประสบการณ์เคยทำงานเครื่องถ้วยชามมาบ้าง พอมาร่วมทีมกันเครื่องเบญจรงค์ ของที่ระลึก ได้จัดแบ่งหน้าที่การทำงาน เพราะว่าการทำชุดเบญรงค์มีหลายขั้นตอน ตั้งเรื่องขั้นรูปภาชนะ การเขียนลวดลาย เพื่อให้มีความประณีตสวยจริงตามแบบฉบับ ความเก่าแก่ยุคสมัยโบราณ ไม่ว่าจะเป็นถ้วยชาม แก้วกาแฟ คนโท อย่างการออกแบบลวดลายประจำยาม ชุดลายนกพระเจ้าตาก และลวดลายคังฮี สีเขียว ซึ่งช่างทำงานชิ้นนี้ต้องมีประสบการณ์งานฝีมือชั้นสูงพอควร เพื่อผลิตออกมาให้สวยงามได้ในแต่ละขั้นตอน

“จุดเด่นชุดเบญรงค์ของเรา เรื่องการใช้น้ำทองบนภาชนะ ซึ่งใช้ไปนานแค่ไหนไม่มีลอก ไม่ดำ ซึ่งทางคุณแม่ได้ทำกันมา 50 ปีกว่า ค่อนข้างที่มีภูมิความรู้ถ่ายทอดให้ชนรุ่นหลังได้สืบทอดกัน ซึ่งเป็นเสน่ห์ชุดเครื่องเบญจรงค์ ที่ดูทรงคุณค่า เก่าแก่ มีเรื่องเล่าน่าศึกษา” ณัฎธ์ณรัณกร กล่าวและว่า

โดยส่วนตัวแล้ว ครอบครัวทำชุดเบญรงค์มาหลายรุ่น จึงอยากสานต่อธุรกิจครอบครัว ซึ่งตนเรียนจบปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตอนนี้กำลังศึกษต่อระดับปริญญาเอก ด้านนวตกรรมบริการ พอมีองค์ความรู้ที่จะเข้ามาจัดการบริหารธุรกิจครอบครัว เพื่อให้สอดรับกับการตลาดยุคใหม่ โดยเฉพาะการทำการตลาด ที่จะไปเจาะตลาดออนไลน์ขายไปทั่วโลกให้ได้

ตอนนี้ตลาดต่างประเทศให้ความสนใจชุดเบญจรงค์ จากฝีมือไทยค่อนข้างดี ปีนี้จะหันมาขยายตลาดส่งออกไปยังยุโรปและอเมริกา แต่ผู้ผลิตสินค้าเมืองไทย ไม่ค่อยส่งออกเยอะ เนื่องจากว่างานฝีมือชุดเครื่องเบญจรงค์ ค่อนข้างที่ผลิตออกมาไม่ทันออเดอร์ที่สังของในจำนวนมากได้เกรงว่าคุณภาพสินค้าไม่ได้ตามมาตรฐานวางไว้ เพราะต้องการขายงานฝีมือ

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มนักท่องเที่ยว แถบตะวันออกกลาง  ค่อนข้างชอบลวดลายอาราดินและชื่นชอบงานที่มีลวดลายน้ำทอง ต่างจากยุโรปชอบงานเพ้นต์ ซึ่งถือว่าเป็นลวดลายที่ละเอียด มีความอ่อนช้อย สีสันดูเก่าแก่ แบบโบราณ ปัจจุบันมีการทำลวดลายช้าง ลงในชุดจาน ชาม ซึ่งได้แรงบันดาลใจมากจากกางเกงช้างที่กำลังฮิตอยู่ในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่สำคัญยังมีความน่าสนใจ ช้างเป็นสัตว์คู่กับเมืองไทยมายาวนาน ซึ่งตอนนี้ญี่ป่น ค่อนข้างให้ความสนใจสูง

ส่วนแนวโน้มช่างฝีมือผลิตเครื่องเบญจรงค์ นับวันจะหาช่างฝีมือค่อนข้างยาก ช่างที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญต้องระดับอายุ60 ปีขึ้นไป ต้องอาศัยชั่วโมงบินสูง ฝึกฝน เรียนรู้การทำงานศิลป์ที่มีความละเอียดอ่อน และเข้าใจศาสตร์แห่งลวดลาย การใช้สีกลมกลืนแบบโบราณ ซึ่งรุ่นหลังๆมีจำนวนน้อยสนใจมาทำเครื่องเบญจรงค์กัน จึงอยากอนุรักษ์ มรดกตกทอด “เครื่องเบญจรงค์” อยู่คู่สังคมไทยไปอีกยาวไกล

Related posts